บทพิจารณาอาหารแบบพระโสดาบัน

มีสติภาวนาขณะรับประทานอาหาร
สุนทรียรสแห่งความอบอุ่นและแสนหวาน
แม้หยาดน้้าหวานบนปลายลิ้น อาจจะท้าให้ใจอ่อนไหว
ถึงจะรู้ความจริงอันยิ่งใหญ่ ว่าไม่มีตัวตนใครที่มีใจ
แต่ก็ยังคงดูแลใจ เข้าใจกันและกันอย่างอาทร

พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนว่า :-
ใจเป็นอนัตตา … ความคิดนึกทางใจก็เป็นอนัตตา … มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา … มโนผัสสะ … และ สุขทุกขเวทนาทางใจจึงเป็นอนัตตา
เช่นเดียวกับ ลิ้นเป็นอนัตตา … รสเป็นอนัตตา … ชิวหาวิญญาณจึงเป็นอนัตตา … ชิวหา
สัมผัส … และ สุขทุกขเวทนาจากชิวหาสัมผัสนั้น จึงเป็นอนัตตา

นี่คือปฏิปทาที่สะดวกสบายแก่นิพพาน
คืออายตนิกยธรรม ๓๐ เหล่านี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
การเห็นเช่นนี้ย่อมสะดวกสบายแก่นิพพาน คือ การสิ้นราคะ โทสะ โมหะ

พระโสดาบันรับประทานอาหารอย่างไร ?
ด้วยการ มีสติเห็นว่า ลิ้น … รส … ชิวหาวิญญาณ … ผัสสะ … และ สุข ทุกขเวทนา จาก
รสชาตินั้น :: ไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นไปโดยประการอื่น :: คือ มั่นหมายโดยความเป็นสิ่งใด สิ่งนั้นล้วนเป็นโดยประการอื่นจากที่มั่นหมายทั้งหมด
พระโสดาบันควรมีสติก าหนดรู้แล้วอย่ามั่นหมายในรส โดยก าหนดรู้ในใจว่า

… … … รสนั้น ไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นโดยประการอื่น … … …
ทานอาหารแล้วไม่ขาดสติ มีสติก าหนดรู้ไม่เพลินเผลอ
มีความสุขได้ แต่อย่ามีราคะจนเหม่อเบลอ
อ๋อมีความสุขแต่ไม่เอ๋อ
เมื่อเห็นความไม่เที่ยงในอายตนะ ๖ อยู่เสมอ อวิชชาย่อมละไป
มีสติขณะลิ้นกระทบรส ไม่เผลอเพลินสยบมัวเมาในอวิชชา
ท าวิชชาให้เกิดขึ้นตรงปัจจุบันขณะ ก าหนดในใจว่า
ลิ้นไม่เที่ยง
รสไม่เที่ยง
ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง
ชิวหาสัมผัสไม่เที่ยง
สุข ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนาจากชิวหาสัมผัสนั้นไม่เที่ยง
วิชชาจึงเกิดขึ้น อวิชชาจึงละไปเห็นอายตนิกธรรม ๓๐ เป็นอื่น ไม่ใช่อย่างที่ยึดไว้สักกะอย่างเดียว ย่อมสะดวกสบายแก่นิพพาน

ปุถุชนทั่วไปมักเพลิดเพลินอย่างยิ่งในรสชาติ เพราะเหตุไรเล่า?
เพราะปุถุชนไม่ได้ก าหนดรู้ในรส
ส่วนพระเสขะ (คือพระโสดาบันขึ้นไป) ควรก าหนดรู้ในรสนั้น แล้วอย่ามั่นหมายซึ่งรส
โดยก าหนดรู้ว่า รสชาตินั้นไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นไปโดยประการอื่น

พระอรหันต์ก าหนดรู้แล้ว ไม่มั่นหมายโดยความเป็นรส จึงไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เพราะ
เหตุไรเล่า? เพราะพระอรหันตขีณาสพท่านก าหนดรู้แล้ว จึงไม่มั่นหมายซึ่งรส ไม่มั่นหมายในรส
ไม่มั่นหมายโดยความเป็นรสชาตินั้น ไม่มั่นหมายรสชาตินั้นว่าของเรา

พระอรหันต์ฉันอาหารอย่างไร?
พระพุทธองค์ทรงสอนพระราหุลด้วยความเอ็นดูว่า
ดูก่อนราหุล ! รสไม่เที่ยง ::สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ :: มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา.
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา
“ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า”
ดูก่อนราหุล ! อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ย่อมเบื่อหน่ายในลิ้น … ในรส … ทั้ง
ในชิวหาสัมผัส … … ทั้งในเวทนา … สัญญา … สังขาร … วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัส
เป็นปัจจัย. เพราะเบื่อหน่าย ย่อมคลายก าหนัด; เมื่อคลายก าหนัด จิตย่อมหลุดพ้น; เมื่อจิตหลุด
พ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว; รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควร
ท า ได้ท าจบแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรจบลงแล้ว พระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มี
พระภาคเจ้า จิตของพระราหุลหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่ายเทวดาหลายพันก็
เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า :

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา”
ในพระสูตรข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่า ขันธ์ ๕ เป็นสหชาติ คือเกิดขึ้นต่อเนื่องพร้อมกัน เมื่อลิ้น
กระทบรส เกิดชิวหาสัมผัสแล้ว ย่อมเกิดสุขทุกขเวทนาในรส ความจ าในรส ความคิดปรุงแต่งใน
รส และวิญญาณที่รับรู้ขันธ์ทั้ง ๔ ข้างต้นครบถ้วน เมื่อเห็นกระแสเหตุปัจจัยที่อาศัยกันเกิดขึ้น
เช่นนี้ ไม่เที่ยง คงที่อยู่ไม่ได้ คือเป็นทุกขลักษณะ เพราะเกิดจากเหตุปัจจัยจึงไม่ใช่ตัวตน ย่อม
คลายก าหนัด หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ภพดับ ชาติย่อมดับ เพราะเหตุนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผลเป็นไฉน?
ทุกคนต้องรับประทานอาหารเช่นเดียวกับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงฉันอาหารโดย
ความไม่มั่นหมายในรส เพราะรู้ว่าความเพลินเป็นมูลแห่งความทุกข์ สลัดคืนความส าคัญมั่น
หมาย ชิวหาไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของรส รสไม่เป็นสังโยชน์เครื่องผูกของชิวหา แต่ฉันทราคะ
ความพอใจรักใคร่เกิดขึ้นเพราะลิ้นกับรส
ชิวหาของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอยู่ พระองค์ก็ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา แต่พระองค์ไม่มี
ฉันทราคะ พอใจรักใคร่ ทรงมาจิตหลุดพ้นดีแล้ว
พระอรหันต์คือผู้ที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ก็เหตุที่จะให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล เป็นไฉน?
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ อันมีอยู่ภายใน
ว่า ราคะ โทสะ และโมหะ มีอยู่ในภายในของเราหรือไม่ หรือรู้ชัดว่า ราคะ โทสะ และโมหะ ไม่มี
อยู่ในภายในของเรา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! ธรรมเหล่านี้พึงทราบได้เพราะเห็นด้วยปัญญามิใช่หรือ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! แม้ข้อนี้ก็เป็นเหตุให้ภิกษุอาศัยพยากรณ์อรหัตตผล
เว้นจากการเชื่อผู้อื่น เว้นจากความชอบใจ เว้นจากการฟังต่อๆ กันมา เว้นจากการนึกเดา
เอาเอง เว้นจากการถือว่าต้องเข้ากับความเห็นของตน ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่
จบแล้ว กิจที่ควรท าได้ท าจบแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

สำหรับผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริง มีความปรารถนาไม่กลับมาเกิดอีก
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้าจะละชาติ ชรา มรณะ
ก็ต้องละราคะ โทสะ โมหะ.
ถ้าจะละราคะ โทสะ โมหะ;
ก็ต้องละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส.

ถ้าจะละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส;
ก็ต้องมีโยนิโสมนสิการ ไม่พัวพันกับทิฏฐิชั่ว ไม่มีจิตหดหู่.

ดังนั้น การโยนิโสมนสิการ คือการท าในใจ มีสติขณะรับประทานอาหารให้สบายต่อ
นิพพาน คือ :- มีสติ เห็นลิ้นไม่เที่ยง … รสไม่เที่ยง … ชิวหาวิญญาณไม่เที่ยง … ชิวหาสัมผัสไม่
เที่ยง … เวทนาอันเกิดจากรสชาตินั้นไม่เที่ยง … ย่อมสบายต่อนิพพาน คือ สบายต่อความไม่มี
ราคะ โทสะ โมหะ

เมื่อความสุนทรียแห่งความอบอุ่นอันแสนหวาน
ท้าให้วกวนหลายอสงไขยเวียนกลับมา
เพรียกหาเวทนาทั่วหล้า ปรโลก
เหน็ดเหนื่อยหนักนักขันธ์ห้า หน่ายแล้ว
เห็นขันธ์เกิดตายน้้าตาโศก ลาโลกหล้าสู่นิพพาน

ภิกษุทั้งหลาย ! นิพพานธาตุมี ๒ อย่าง ๒ อย่างเหล่าไหนเล่า?
๒ อย่างคือ :- สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า?
ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์
แล้ว ได้ท ากิจที่ควรท าเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอัน
เป็นเครื่องผูกติดให้อยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ อินทรีย์ ๕ ของเธอยัง
ตั้งอยู่ เพราะเป็นอินทรีย์ที่ยังไม่ถูกก าจัด เธอย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ บ้าง ไม่เป็นที่
ชอบใจบ้าง ให้รู้สึกสุขและทุกข์บ้าง. ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะของเธอ อันใด, ภิกษุ ท. ! อันนั้นแหละ เราเรียกว่า สอุปาทิเส สนิพพานธาตุ.

ภิกษุ ท. ! ก็ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุ ท. ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันต์ ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ แล้ว
ได้ท ากิจที่ควรท าเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว ได้บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีกิเลสอันเป็น
เครื่องผูกติดอยู่กับภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ. ภิกษุ ท. ! เวทนาทั้งหลายทั้ง
ปวงของเธอ อันเธอไม่เพลิดเพลินแล้ว จักดับเย็นในโลกนี้เอง. ภิกษุ ท. ! อย่างนี้แล เราเรียกว่า
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

มีสติก าหนดรู้ขณะรับประทานอาหารแล้วไม่เป็นหนี้ชาวบ้าน
รับประทานอาหารแล้วมีความสุข ความทุกข์ แต่ไม่มีราคะ โทสะ โมหะ เวทนาอันไม่
เพลิดเพลินแล้วจักเป็นของดับเย็น พระพุทธองค์ทรงตรัสแล้วเป็นหนึ่ง ไม่เป็นสอง ท าประโยชน์
ตนประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อม ด้วยเดชแห่งธรรมอันวิริยะนฤมิตขึ้น ผลิบานสว่างไสวดั่งร่มฉัตร
แก้วกางกั้น ราคะ โทสะ โมหะ มิให้กล้ ากราย สยายปีกชู่ช่อเรืองรองละอองเกสรแห่งความสุข
ด้วยรัศมีแห่งปัญญาอันผ่องใสสง่างาม จนกว่าจะถึงมรรคผลนิพพานด้วยกันทุกคนทุกท่านเทอญ

Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial